วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

NaNa Sara1000: Thai Contemporary House

NaNa Sara1000: Thai Contemporary House

Thai Contemporary House

Thai Contemporary House
บ้านไทยประยุกต์หลังใหญ่ | ปากช่อง
รีสอร์ทส่วนตัว ปากช่อง นครราชสีมา

ชมบ้านแบบรีสอร์ทหลังใหญ่ มี 2 ชั้น ขนาด 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ พร้อมที่จอดรถ 2 คัน
ท่ามกลางธรรมชาติ ภายในโครงการ บนที่ดิน 1 ไร่
Big resort house 2 storeys :5 bedrooms 5 baths : 2 parkings







เป็นบ้านสไตล์ปั้นหยาแบบผสม แบบไทยประยุกต์ ยกใต้ถุนสูง
พื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่จึงเหมาะกับคนที่รักธรรมชาติ ใกล้ชิดสวน
มีมุมพักผ่อนนั่งเล่นมากมาย มีห้องครัวแยกต่างหากจากส่วนพักผ่อน แบบเรือนไทย
จึงไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นควันจากการทำครัว








โครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างแข็งแรง ดูแลรักษาง่าย
ไม่ต้องกลัวปลวกเหมือนบ้านไม้



เฟอร์นิเจอร์และตู้ส่วนใหญ่เป็น Built-in ส่วนเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
เช่น เป็นเตียงและตั่ง เป็นไม้จริงสั่งทำแบบโบราณ ทั้งหมด
All built-in furnitures




สภาพแวดล้อมแบบธรรมชาติ พร้อมสวนสวยในบริเวณ
และอากาศบริสุทธิ์ของปากช่อง
ใครเป็นเจ้าของ ต้องมีความสุขสุดๆทีเดียว

Bangkok Top City for Vacation Travel 2008

Looks like an online poll by Travel + Leisure magazine voted Bangkok as the top city in the world for vacation travel. The Galapagos were voted the top island in the world for travelers. Last year the winners were Florence, Italy and Bali, Indonesia. This further strengthens Bangkok’s image as a major tourist destination in the world.





The win does not come as a surprise for Bangkok. The city has always been a consistent placer in the top 5 for the last three consecutive years on the US - based travel magazine’s list , but its 13th Annual World’s Best Awards Readers’ Survey Results announced July 10, 2008, marked the first time that the Thai capital was able to snatch the top ranking.


This is the first time that Bangkok has grabbed the title for top vacation city in the world and it’s about time. All of us that have been there know the charms of the Big Mango. About time the rest of the world discovered it too. Bangkok deserves the top ranking in the world’s best city survey because it has everything to offer to different types of visitors, from its modern infrastructure and world-renowned hospitality and service, to the rich culture and to-die-for cuisine.




Bangkok Art & Culture Center








The city of Bangkok has always been a perennial winner of tourism awards given by international organisations, and consistently scores high in readers’ surveys conducted by leading travel magazines such as Travel + Leisure and Conde Nast Traveler.




Bangkok was named World’s Best City 2008 with a score of 87.61, ahead of Argentina’s Buenos Aires, last year’s runner up, and Cape Town, South Africa, which jumped from no. 10 in 2007.






The opening of Suvarnnabhumi International Airport just few years ago was a sign of Thailand’s strong commitment to the tourism industry. The new airport link due to be operational in the near future confirms the city’s commitment to constantly upgrading its infrastructure for the greater convenience of all visitors to the country. To provide an added dimension to the already rich culture in the capital city of Thailand is the Bangkok Art and Culture Centre, which stands to become one of the city’s major attractions.





Meanwhile, the Bangkok Metropolitan Administration(BMA) is keen on further uplifting the overall image of the city. Currently, the BMA’s campaign is emphasizing on the ‘Five Charms of Bangkok’: culture, the Chao Phraya River, shopping, nightlife and cuisine.








Being voted the best city in the world secures the capital’s top position in the 10 Best Asian cities, fending off the challenge by Kyoto which climbed up to second place from no. 6 in last year’s survey. Thailand’s Chiang Mai has retained its no. 3 ranking for two successive years, remaining as one of the most preferred choices among visitors to Thailand after Bangkok.







Surprisingly, none of Thailand’s islands made it to the top 10 world wide although Phuket was #2 in Asia beating out Penang Malaysia, but losing out to Bali, Indonesia. One of the hundreds of Thai islands would have been in the top 10 considering the crystal clear waters and great snorkeling and diving in the Andaman Sea islands. Koh Phi Phi is the one that would have liked to be on the list simply for it’s amazing scenery.


RealAdviser




Source :
http://www.thailandmusings.com/thailand-travel/bangkok-top-city-for-vacation-travel/
http://www.4hoteliers.com/4hots_nshw.php?mwi=4756

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิวัฒนาการของการทอผ้าใน ประเทศไทย
และเครื่องมือโบราณ “ไนกับระวิง”



แม้ว่าเราจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมาใช้อธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จัก ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่ เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย และสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่า จะใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบๆสะโพก บนศีรษะประดับด้วยขนนก

จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบ บริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก และรอยตาข่ายทาบ ทำให้เราสันนิษฐานว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบการจักสานคือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืนแล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืน เกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆขึ้น เหมือนการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบ แบบหยาบๆ

เราพบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิม นั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัดกร่อนโลหะ ซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุ แต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ เรายังพบ แวดินเผาซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่ายๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบนผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสี และพิมพ์ลวดลายลงบนผ้าอีกด้วย





ผ้าในงานหัตถกรรมพื้นบ้านโดยทั่วไปมีอยู่สองลักษณะคือ ผ้าพื้นและผ้าลาย ผ้าพื้นได้แก่ ผ้าที่ทอเป็นสีพื้นธรรมดาไม่มีลวดลาย ใช้สีตามความนิยม ในสมัยโบราณสีที่นิยมทอกันคือ สีน้ำเงิน สีกรมท่าและสีเทา ส่วนผ้าลายนั้นเป็นผ้าที่มีการประดิษฐ์ลวดลายหรือดอกดวงเพิ่มขึ้นเพื่อความงดงาม มีชื่อเรียกเฉพาะตามวิธี เช่น ถ้าใช้ทอ (เป็นลายหรือดอก) ก็เรียกว่าผ้ายก ถ้าทอด้วยเส้นด้ายคนละสีกับสีพื้น เป็นลายขวาง และตาหมากรุกเรียกว่า ลายตาโถง ถ้าใช้เขียน หรือพิมพ์จากแท่งแม่พิมพ์โดยใช้มือกด ก็เรียกว่า ผ้าพิมพ์ หรือผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าพิมพ์ลาย ที่คนไทยเขียนลวดลายเป็นตัวอย่างส่งไปพิมพ์ ที่ต่างประเทศ เช่น อินเดีย

ผ้าเขียนลายส่วนมากเขียนลายทอง แต่เดิมชาวบ้านรู้จักทอแต่ผ้าพื้น (คือผ้าทอพื้นเรียบไม่ยกดอกและมีลวดลาย) ส่วนผ้าลาย (หรือผ้ายก) นั้น เพิ่งมารู้จักทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างการทอมาจากแขกเมืองไทรบุรี ซึ่งถูกเจ้าเมืองนครกวาดต้อนมา เมื่อครั้งที่เมืองไทรบุรีคิดขบถ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๔

อย่างไรก็ตาม ผ้าทั้งสองประเภทนี้ใช้วิธีการทอด้วยกันทั้งสิ้น วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทอคือ ฝ้าย ไหมและขนสัตว์ (แต่ส่วนมากจะใช้ฝ้ายและไหม) ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายเป็นพืชไร่และเลี้ยงไหมกัน ฤดูที่ปลูกฝ้ายกันคือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกินเวลาถึง ๖ เดือน ต้นฝ้ายจึงจะแก่ เมื่อเก็บฝ้ายมาแล้ว จึงนำมาปั่นและกรอให้เป็นเส้น ม้วนเป็นหลอด เพื่อที่จะนำไปเข้าหูกสำหรับทอต่อไป ชาวบ้านรู้จักทอผ้าขึ้นใช้เอง หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจะต้องใช้ภายในครอบครัว การทอนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว ไม่มีใครทราบว่ามีมาแต่เมื่อไร และได้แบบอย่างมาจากใคร ถ้าจะพิจารณาดูตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ในสมัยศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓) ชาวบ้านคงรู้จักการทอผ้าแล้ว เพราะว่าในสมัยนั้น เป็นสมัยที่ได้มีการติดต่อการค้าและรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมมาจากชนชาติที่เจริญกว่า เช่น จีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย ชนต่างชาติดังกล่าวคงได้มาถ่ายทอดไป







การทอผ้านี้มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ หลักการและวิธีการนั้นคล้ายคลึงกันทั้งหมด แต่อาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันบ้าง การทอนี้ทำด้วยมือโดยตลอด ใช้เครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต นับตั้งแต่การเตรียมเส้น การย้อมสี และการทอเป็นผืน

เครื่องมือทอผ้าเรียกว่า "กี่" มี ๒ ชนิด คือ กี่ยก กับกี่ฝัง กี่ยกเป็นเครื่องมือที่ยกเคลื่อนที่ได้ ใช้ตั้งบนพื้นถอดและประกอบได้ง่าย ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขนาดเท่ากับกี่ฝัง แต่ทำตั้งสูงกว่า เพื่อให้เท้าถีบกระตุกด้ายในเวลาทอผ้า สะดวกไม่ติดพื้น ส่วนกี่ฝังคือเครื่องทอผ้าที่ใช้เสาปักฝังลงดินยึดอยู่กับที่ เคลื่อนย้ายไม่ได้สร้างกันไว้ตามใต้ถุนบ้าน เป็นเครื่องทอผ้าชนิด ที่นิยมใช้กันมาก

การทอผ้าที่ชาวบ้านทำกันนั้นต้องอาศัยความจำและความชำนาญเป็นหลัก เพราะไม่มีเขียนบอกไว้เป็นตำรา นอกจากนี้แล้วยังพยายามรักษารูปแบบและวิธีการเอาไว้อย่างเคร่งครัด จึงนับว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปกรรมแขนงนี้ไว้อีกด้วย





ผ้าพื้นบ้านที่นิยมใช้กันมี ๒ ประเภท คือ
๑. ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเรียกกันว่าผ้าพื้นนั้น ไม่มีความประณีตและสวยงามเท่าใดนัก แต่มีความทนทาน ทอขึ้นอย่างง่ายๆ มีสีและ ลวดลายบ้าง เช่น ผ้าพื้น ผ้าตาโถง ผ้าโสร่ง ผ้าแถบ ผ้าซิ่น และผ้าขาวม้า ซึ่งชาวบ้านนิยมใช้ติดตัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๔๔ แห่งแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๑๖)
๒. ผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น ทำบุญ ฟ้อนรำ แต่งงานหรือเทศกาลต่างๆ ในสังคมไทยสมัยก่อน ถือว่าการทอผ้าเป็นงานของผู้หญิง เพราะต้องใช้ความประณีตและละเอียดอ่อน ใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าชนิดนี้เสร็จ แต่ละผืน ผู้หญิง ซึ่งในสมัยนั้นต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนอยู่แล้ว จึงมีโอกาสทอผ้ามากกว่าผู้ชาย อีกประการหนึ่ง ค่านิยมของสมัยนั้น ยกย่องผู้หญิงที่ทอผ้าเก่ง เพราะเมื่อโตเป็นสาวแล้วจะต้องแต่งงานมีครอบครัวไปนั้น ผู้หญิงจะต้องเตรียมผ้าผ่อนสำหรับออกเรือน ถ้าผู้หญิงคนใดทอผ้าไม่เป็นหรือไม่เก่งก็จะถูกตำหนิ ชายหนุ่มจะไม่สนใจ เพราะถือว่าไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะเป็นแม่บ้าน เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ชาวบ้านจะพากันแต่งตัวด้วยผ้าทอเป็นพิเศษไปอวดประชันกัน ผ้าชนิดนี้จะทอขึ้นด้วยฝีมือประณีตเช่นเดียวกัน มีสีสัน และลวดลาย ดอกดวงงดงามเป็นพิเศษ ผ้าบางผืนจะทอกันเป็นเวลาแรมปีด้วยใจรักและศรัทธา เช่น ผ้าลายจก ผ้าตีนจก ผ้าตาด ผ้ายก และผ้าปูม เป็นต้น

ดังกล่าวแล้วว่าการทอผ้านั้นมีอยู่ทุกภาคของประเทศ แต่ละภาคจะมีจังหวัดที่มีความเด่นเป็นพิเศษในการทอผ้า คือ
ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัด สระบุรี จังหวัดชลบุรี
จังหวัดราชบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย
จังหวัดขอนแก่น
ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดสงขลา








เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทอผ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท เครื่องมือสำหรับเตรียมด้ายหรือไหม และเครื่องทอผ้าหรือกี่
1. เครื่องมือสำหรับเตรียมด้ายหรือไหม ได้แก่
1.1 ไน เป็นเครื่องมือสำหรับกรอเส้นด้ายเข้าหลอด มีลักษณะเป็นวงล้อเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 72 ซ.ม. ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย ปัจจุบันใช้ล้อรถจักรยานที่ถอดยางออกแทน
1.2 ดอกวิง หรือดอกสวิง เป็นเครื่องปั่นด้าย รูปร่างคล้ายวงล้อ ทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่ ใช้คู่กับไน เมื่อต้องการกรอด้ายหรือไหม ยืนหรือด้ายพุ่งเข้าหลอด

ไนกับระวิง เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กัน "ไน" บางทีเรียก "เผี่ยน" ที่รู้จักทั่วไปเรียกว่า "หลา" ส่วน "ระวิง" รู้จักกันทั่วไปว่า "กง" ใช้สำหรับปั่นด้ายเข้าหลอด

1.3 หลอดค้นหรือลูกค้น คือหลอดด้ายที่ทำด้วยไม้หรือพลาสติก ใช้สำหรับม้วนด้าย ยาวประมาณ 6 ซ.ม. แกนของหลอดจะต้องเป็นรูกลวง
1.4 รางค้น คือราวสำหรับใส่หลอดค้น เมื่อต้องการค้นด้ายยืน มีลักษณะเป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า
1.5 หลักค้น หรือคราด คือหลักที่ใช้คล้องด้ายยืน ตอนที่ค้นด้ายหรือไหมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสาวไหม จัดเส้นไหมหรือด้ายให้เป็นระเบียบและใช้คล้องด้ายยืนที่เก็บจัดกันเสร็จแล้ว หลักค้นยังใช้คำนวณความยาวของเส้นด้ายที่จะใช้ทอผ้า หลักค้นทำด้วยไม้ลักษณะคล้ายคราด
1.6 ตะขอเกี่ยวด้ายเข้าฟืม
1.7 เครื่องรองตอนเข้าฟืม
1.8 ไม้นัด ใช้ก่อเขาหูก
1.9 ไม้ขัดด้าย หรือไม้ค้ำ
1.10 เครื่องม้วนด้าย
1.11 ลูกหัดหรือระหัด เพื่อส่งด้ายเวลาทอ

2. เครื่องมือทอผ้า หรือกี่ หรือโหก ในภาษาถิ่น การทอผ้าเกาะยอจะใช้กี่กระตุก ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
2.1 โครงกี่ ประกอบด้วยเสาสี่ต้น มีราวกี่ขนาบทั้งสี่ด้าน ทั้งด้านบนด้านล่าง เพื่อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น โครงกี่แต่ละโครงจะมีขนาดไม่แน่นอน โดยประมาณจะกว้าง 1.20 – 1.50 เมตร ยาว 2.50 – 3.00 เมตร สูง 1.20 – 1.50 เมตร
2.2 ฟืมหรือฟันหวี เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้ด้ายที่ทอแน่นเข้า ใช้โลหะทำเป็นซี่เล็กๆ ห่างกันตามความต้องการ แต่ละช่องจะใช้สอดด้ายยืนเข้าไปหนึ่งเส้น เป็นการจัดด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของผ้า ตัวฟืมส่วนใหญ่ยังทำด้วยไม้
2.3 เขาหูกหรือตะกอ คือเชือกที่ร้อยคล้องเส้นยืนเพื่อแบ่งเส้นยืนออกเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการ เมื่อยกเขาหูกหรือตะกอขึ้นจะดึงเส้นไหมยืนเปิดเป็นช่อง สามารถพุ่งกระสวยเข้าไปให้ไหมพุ่งสานขัดกับไหมยืนได้
2.4 กระสวย เป็นไม้รูปเรียวที่ปลายทั้งสองข้าง ตรงกลางใหญ่และเป็นร่องสำหรับใส่หลอดด้าย ใช้สำหรับพุ่งสอดไปในระหว่างช่องการทอผ้า หลังจากที่เหยียบคานเหยียบให้เขาหูกแยกเส้นด้ายยืนแล้ว
2.5 ไม้แกนม้วนผ้า หรือพั้นรับผ้า คือไม้ที่ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้วไว้อีกส่วนหนึ่ง มีความยาวเท่ากับกี่หรือเท่ากับความกว้างของผ้า


ข้อมูลจาก
ผ้าจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย กองโบราณคดี กรมศิลปากร
http://arc.skru.ac.th/kohyor/instrument.html&h=300&w=400&sz=134&hl=th